ระบบการก่อสร้าง

        การก่อสร้างหล่อในที่ (Conventional Construction Method) คือ เป็นการก่อสร้างในพื้นที่ก่อสร้าง จะต้องมีการผูกเหล็ก ตั้งแบบ และเทคอนกรีต ในส่วนประกอบขององค์อาคาร เช่น เสา คาน โดยจะก่อสร้างเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นวิธีการก่อสร้างซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย

          การก่อสร้างระบบสำเร็จรูป (Fabrication) หรือกึ่งสำเร็จรูป (Pre-Fabrication) คือการตระเตรียม หรือประกอบสําเร็จ ของอาคารเป็นการหล่อสำเร็จรูปจากโรงงานหรือผลิตจากโรงงาน เช่น เสา, คาน, พื้นสำเร็จรูป, ผนัง, บันได, พื้นห้องน้ำ เป็นต้น แล้วมาติดตั้งที่พื้นที่ก่อสร้าง

1) วิธีการก่อสร้างหล่อในที่ (Cast-in-situ method/Cast-in-Place Construction System)

       1.1)Tunnel System/Box System ระบบนี้ประกอบด้วยพื้นและผนังเป็นชิ้นสำเร็จ อาจจะตกแต่งสำเร็จมาจากโรงงานเลย รวมทั้งมีท่อร้อยสาย ระบบท่อเรียบร้อย หรือเฟอร์นิเจอร์ติดตายพร้อมในกล่องสำเร็จรูปนี้

2)วิธีการก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูป (Fully pre-fabricated method/Prefabrication Construction System)

       2.1) Skeleton System เป็นระบบที่แยกส่วนประกอบของโครงสร้างเฟรมออกเป็นส่วนประกอบสำเร็จรูป เช่น เสา คาน แผ่นพื้น เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการขนส่ง นำมาประกอบที่ที่ก่อสร้าง นิยมใช้ในการก่อสร้าง ที่จอดรถ สะพาน โกดัง อาคารทางอุตสาหกรรม สนามกีฬา และอื่นๆ ที่เน้นโครงสร้างขนาดใหญ่

        2.2) Panel System ระบบแผ่น เป็นแบบที่ได้รับความนิยมในอาคารสำเร็จรูปแบบเต็มรูปแบบ แผ่นสำเร็จนี้มีทั้ง แผ่นพื้นสำเร็จรูปและแผ่นผนังสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้การติดตั้งรวดเร็วกว่าระบบโครงสำเร็จรูปอย่างมาก ทั้งนี้แผ่นสำเร็จรูปเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างในตัวด้วย แต่ไม่ค่อยจะได้รับความนิยมเท่าไรนัก เนื่องจากไม่มีพื้นฐานในการใช้โครงสร้างผนังรับน้ำหนักเหมือนในยุโรปและอเมริกา ระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้อาจจะออกแบบให้มีระบบร้อยสายไฟและระบบท่อในตัวด้วย และควรจะมีส่วนประกอบทางฉนวนในตัวเพื่อลดขั้นตอนในการก่อสร้างที่ที่ก่อสร้าง ประตู หน้าต่างอาจจะติดมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ระบบนี้นิยมใช้ในอาคารประเภท ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน โรงแรม และอื่นๆ ที่มีการถ่ายแรงเป็นระบบ ไม่ต้องการช่วงระยะโครงสร้างที่ยาวนัก

3)วิธีการก่อสร้างระบบผสม (Mix Construction System)

          3.1) Tunnel + Panel, Panel + Skeleton System จากข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ รวมทั้งการก่อสร้างแบบเดิมและระบบสำเร็จสามารถนำมาประกอบเป็นระบบผสมได้ อาจจะใช้ระบบโครงสำหรับบางส่วน ระบบแผ่นกับอีกส่วน หรือระบบก่อสร้างธรรมดาในอีกส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่าง โดยเฉพาะปัจจุบันเกิดการผสมผสานหลายๆ ประโยชน์ใช้สอยในแต่ละอาคารจะทำให้ระบบสำเร็จรูปแบบผสมนี้มีความเหมาะสมมากขึ้น แท้ที่จริงแล้วระบบนี้ถูกใช้ในการก่อสร้างของไทยอยู่แล้วเพราะมีการใช้เสา คานหรือพื้นสำเร็จรูปมาประกอบกับระบบหล่อ เป็นต้น