3วิธีการมีบ้าน แต่ไม่มีเงิน ?

👏👏วันนี้เรามาพูดถึงการมีบ้านโดยการกู้สินเชื่อ👏👏 | ||||||||||||||||||||
สำหรับบางคนแล้ว เมื่อต้องการมีบ้านซึ่งเป็นสถานที่ที่จะได้อยู่อาศัยไปอีกนาน หลายคนจึงอยาก ‘เลือก’ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทำเล สภาพแวดล้อม และสไตล์บ้าน เพื่อให้ภาพบ้านในฝันเป็นจริง แต่ความใฝ่ฝันทั้งหมดนั้นจะเป็นจริงไม่ได้ถ้าหากมีกำลังเงินไม่เพียงพอ โชคดีที่การสร้างบ้านหลังหนึ่งสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเงินเท่ามูลค่าของบ้าน เพราะสถาบันการเงินหลายแห่งก็มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้กู้ เพื่อให้ความฝันของเราเป็นจริงเร็วยิ่งขึ้น และไม่เสียโอกาสจากค่าวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นทุกปี สินเชื่อบ้านจึงถือเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่อยากมีบ้านแต่ไม่มีเงินเพียงพอ แต่อาจจะมีที่ดินของตัวเองอยู่แล้ว ทางเลือกนี้ ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียง 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ก็สามารถทำให้คุณสร้างบ้านได้อย่างใจ | ||||||||||||||||||||
👌(3) ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับคนอยากสร้างบ้านแต่ไม่มีเงิน👌 | ||||||||||||||||||||
✍️1. ตรวจสอบสภาวะการเงินและประเมินวงเงินที่สามารถกู้ได้ | ||||||||||||||||||||
ขั้นตอนแรกสู่บ้านในฝัน คือ การตรวจสอบความพร้อมสภาวะการเงินของคุณและประเมินว่าคุณสามารถกู้สินเชื่อได้ในวงเงินเท่าไร | ||||||||||||||||||||
ตรวจสอบความสามารถในการกู้ | ||||||||||||||||||||
การตรวจสอบความพร้อมทางการเงินมีความสำคัญช่วยให้คุณทราบว่าคุณมีความสามารถในการผ่อนได้มากเท่าไรขึ้นอยู่กับอาชีพและความมั่นคงของรายได้ ซึ่งโดยทั่วไป หลักการผ่อนที่ปลอดภัยต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เพราะถ้าหากต้องผ่อนมากไปกว่านี้ สภาพคล่องตัวในการใช้จ่ายจะลดลงทำให้คุณใช้จ่ายลำบาก | ||||||||||||||||||||
++ประเมินวงเงินที่สามารถกู้ได้ | ||||||||||||||||||||
เมื่อคุณได้ตัวเลขสำหรับการผ่อนต่อเดือนมาแล้ว คุณก็สามารถหาวงเงินโดยประมาณที่ธนาคารสามารถให้คุณได้ ซึ่งช่วยให้คุณประเมินงบประมาณสำหรับสร้างบ้านได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น | ||||||||||||||||||||
++เตรียมเงินสำหรับสร้างบ้านงวดแรก | ||||||||||||||||||||
โดยทั่วไป ธนาคารจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ถ้าสิ่งปลูกสร้างยังดำเนินงานไปไม่ถึง 20% เพราะธนาคารถือว่ามีความเสี่ยงที่ผู้ขอสินเชื่อจะนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือกระทั่งผู้รับเหมาจะทิ้งงาน ทำให้ธนาคารเสียผลประโยชน์ ดังนั้น จำนวนเงินที่คุณควรเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนขอกู้จึงเท่ากับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านจริงประมาณ 20% | ||||||||||||||||||||
✍️2. เตรียมเอกสารยื่นกู้สินเชื่อให้พร้อม | ||||||||||||||||||||
เมื่อคุณทราบแล้วว่าคุณควรสร้างบ้านโดยใช้งบประมาณเท่าไร และได้หาผู้รับเหมาไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การเตรียมเอกสารสำหรับขอกู้สินเชื่อกับธนาคาร สิ่งที่คุณต้องเตรียม มีดังนี้ | ||||||||||||||||||||
เอกสารส่วนบุคคล | ||||||||||||||||||||
• บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรรัฐวิสาหกิจ | ||||||||||||||||||||
• ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน | ||||||||||||||||||||
• สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร | ||||||||||||||||||||
• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล | ||||||||||||||||||||
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) | ||||||||||||||||||||
เอกสารทางการเงิน | ||||||||||||||||||||
พนักงานประจำ | ||||||||||||||||||||
• ใบรับรองเงินเดือน | ||||||||||||||||||||
• สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน | ||||||||||||||||||||
• สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) | ||||||||||||||||||||
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ | ||||||||||||||||||||
• สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง) | ||||||||||||||||||||
• สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน | ||||||||||||||||||||
• หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ | ||||||||||||||||||||
• รูปถ่ายกิจการ | ||||||||||||||||||||
• สำเนาใบประกอบวิชาชีพ | ||||||||||||||||||||
เอกสารหลักประกัน | ||||||||||||||||||||
• สำเนาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะฯ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ | ||||||||||||||||||||
• หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร | ||||||||||||||||||||
• สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก /หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2 ทุกหน้า | ||||||||||||||||||||
• ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม | ||||||||||||||||||||
• แบบแปลน | ||||||||||||||||||||
• ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง | ||||||||||||||||||||
* เอกสารหลักประกันหลายชุดมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เช่น ค่าออกแบบแปลนบ้านคิดไม่เกิน 2-5% ของมูลค่าบ้าน เป็นต้น | ||||||||||||||||||||
✍️3. เลือกสถาบันการเงินที่เหมาะสม | ||||||||||||||||||||
แล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่เหมือนประตูบานสุดท้ายก่อนที่คุณจะเริ่มสร้างบ้าน นั่นคือ การเลือกสถาบันการเงินที่คุณจะขอสินเชื่อ โดยหลักในการเลือกสถาบันการเงินก็มีข้อควรพิจารณาอยู่เล็กน้อย เพื่อว่าคุณจะได้รับประโยชน์สูงสุด | ||||||||||||||||||||
• เลือกสถาบันการเงินที่ให้วงเงินได้ตามต้องการ | ||||||||||||||||||||
สถาบันการเงินโดยทั่วไปจะให้วงเงินสำหรับการสร้างบ้าน 100% เต็ม ของสัญญาว่าจ้างปลูกสร้าง ในกรณีที่คุณมีที่ดินอยู่แล้ว แต่ถ้าหากไม่มีที่ดิน แล้วต้องการยื่นกู้ซื้อที่ดินและปลูกสร้าง ธนาคารจะให้วงเงินเพียง 70-90% ของราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้คุณต้องสำรองเงินสำหรับซื้อที่ดินและงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 10-30% ทั้งนี้ บางธนาคารก็ให้คุณวางหลักประกันเพิ่มเติมเพื่อให้ขอวงเงินสินเชื่อได้มากขึ้น หรือบางทีธนาคารอาจทำสัญญาร่วมกับองค์กรของคุณเพื่อปล่อยสินเชื่อ 100% | ||||||||||||||||||||
• เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย | ||||||||||||||||||||
อีกข้อที่ผู้ขอสินเชื่อทุกคนจะทำ คือ การเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคารว่าที่ไหนให้เราจ่ายน้อยที่สุด โดยหลักการเปรียบเทียบนั้นควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย 3-5 ปี ตามที่ธนาคารส่วนมากให้สามารถรีไฟแนนซ์ได้ | ||||||||||||||||||||
• เลือกสถาบันการเงินที่มีบัญชีอยู่แล้ว✍️✍️ |
Related Posts

6 ต้นไม้ปลูกในห้องน้ำ ฟอกอากาศให้สดชื่น
6 ต้นไม้ปลูกในห้องน้ำ ฟอกอากาศให้สดชื่น 1. กล้วยไม้กล้วยไม้เป็นไม้ประดับที่มีสีสันสวยงามให้เลือกหลายแบบ กล้วยไม้เป็นพืชที่ทนต่อความชื้นได้ดี แต่ก็ต้องรับแสงแดดอย่างเพียงพอ จึงเหมาะกับการวางไว้ริมหน้าต่างในห้องน้ำ โดยควรเป็นหน้าต่างที่อยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ เพื่อให้รับแสงแดดได้เต็มที่ และควรรดน้ำในช่วงเช้า และไม่ควรรดมากเกินไปเพราะอาจทำให้รากเน่าได้2. ต้นคลาสซูล่าเป็นต้นไม้ปลูกในห้องน้ำที่ดูแลง่าย เป็นไม้อวบน้ำที่ชอบความร้อน และจะกักเก็บน้ำไว้ในลำต้น…

การจัดสวนในห้องน้ำ
"ข้อแนะนำในการจัดสวน ในห้องน้ำ"หากลูกค้าท่านใดต้องการมีสวนในห้องน้ำ คุณลูกค้าควรจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบสร้างบ้าน บ้านจะต้องมีปัจจัยที่เหมาะสมในการทำสวนในห้องน้ำ นอกจากปัจจัยเรื่อง ขนาดห้องน้ำ ขนาดสุขภัณฑ์ หรือระยะภายในห้องน้ำแล้ว คุณลูกค้าต้องหาแสงให้กับต้นไม้ เตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ที่จะปลูกต้นไม้เหล่านี้ อาจจะใช้ไม้กระถางมาจัดวางแล้วก็สลับสับเปลี่ยนกันไป หรือจะทำเป็นกระบะปลูกต้นไม้ไปเลยก็ได้ เมื่อเตรียมเรื่องแสงแล้วก็ต้องมาเตรียมพื้นที่ที่จะจัดสวน เตรียมโครงสร้าง กันซึม…
Leave a Reply